วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

twelfth class of AI613

Customer Relationship Management (CRM) 
การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยใช้เทคโนโลยีและบุคลากรอย่างมีหลักการ จะช่วยให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น  เนื่องจากระบบ CRM เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดำเนินธุรกิจที่นำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ ดังนั้นการดูแลระบบให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย

เป้าหมายของ CRM
เพื่อบริการลูกค้ารวมถึงเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลที่เก็บได้มาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ  รวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป 

ประโยชน์ของ CRM
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile, Customer  Behavior
2. สามารถวางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้รวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของลูกค้า
4. สามารถเพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันส่งผลให้เกิดภาพพจน์ที่ดีขององค์การ 
Software บริหาร CRM
·     ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย
o  ขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ Telesale
o  ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce)
o  ระบบงานสนามด้านการขาย เช่น Wireless  ตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ
·     ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) ประกอบด้วย ระบบโทรศัพท์ตอบ ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
·     ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการ ด้านเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์

Knowledge Management System (KMS)  การจัดการความรู้ โดยรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในคนในองค์กร เอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ  ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและพัฒนาตนเอง 

การสร้าง KM
·       สร้าง knowledge Base ขององค์กรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว (learn faster) ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่
·       สร้าง knowledge network สำหรับพนักงานทุกคน สามารถ Access and Share ความรู้ได้อย่างทั่วถึง

เป้าหมายการจัดการความรู้
·       เพื่อให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
·       เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ไม่หยุดนิ่ง
·       นำความรู้มาแก้ปัญหาได้

การสร้างความรู้
·       Socialization เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ของตนเอง เป็นความสามารถที่มีอยู่ในตนเอง นอกจากนี้องค์กรสามารถสร้างความรู้เพิ่มเติมได้จากภายนอกองค์กร เช่นการติดต่อกับลูกค้า หรือ supplier
·       Externalization การเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึก (tacit knowledge) ให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) โดยการให้คนในองค์กรนั้นต้องมาแชร์ความรู้ซึ่งกันและกัน
·       Combination เอา ข้อมูลจากส่วนต่างๆภายในองค์กรรวมทั้งภายนอกองค์กร เป็นเสมือนการหาข้อมูลเพิ่มเติมไปในฐานข้อมูล แล้วนำไปจัดหมวดหมู่เพื่อไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงเหมือนเป็นการเปลี่ยนข้อมูล explicit เป็น explicit อีกที
·       Internalization การเอาความรู้ explicit มาเป็นความรู้ของผู้ใช้

ประโยชน์ของการบริหารความรู้
·       เข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย พนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสามารถต่อยอดความรู้ได้
·       ลดจำนวนการทำผิดซ้ำ
·       ความรู้ไม่สูญหายจากองค์กร
·       ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง
กระบวนการจัดการความรู้
·       การแสวงหาความรู้  - เป็นกระบวนการที่องค์กรควรแสวงหาความรู้ ต่างๆทั้งภายในและภายนอก
·       การสร้างความรู้ - เป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ
·       การจัดเก็บความรู้ - เป็นกระบวนการที่องค์กรต้องกำหนดสิ่งสำคัญที่จะเก็บไว้เป็นความรู้
·       การถ่ายทอดความรู้ - เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่ยนย้ายข้อมูล ข่าวสาร ความรู้จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น